ผลของการไม่มีศีล

111 112 113 114 115 116 117 118

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เพลง ผู้ชี้ทาง (พุทธวจน)

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

[TOP 10] 10อันดับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี2025

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

IT CORNER เรื่อง เทคโนโลยีแห่งอนาคต 2020

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พุทธวจน faq วันมาฆบูชา มีความสำคัญอย่างไร_2

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

วาเลนไทน์

avatar

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ

Image processing เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ
การประมวลผลภาพ (Image Processing) หมายถึง การนำภาพมาประมวลผลหรือคิดคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เราต้องการทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ

โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ การทำให้ภาพมีความคมชัดมากขึ้น การกำจัดสัญญาณรบกวนออกจากภาพ การแบ่งส่วนของวัตถุที่เราสนใจออกมาจากภาพ เพื่อนำภาพวัตถุที่ได้ไปวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ขนาด รูปร่าง และทิศทางการเคลื่อนของวัตถุในภาพ จากนั้นเราสามารถนำข้อมูลเชิงปริมาณเหล่านี้ไปวิเคราะห์ และสร้างเป็นระบบ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ เช่น ระบบรู้จำลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบว่าภาพลายนิ้วมือที่มีอยู่นั้นเป็นของผู้ใด ระบบตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ระบบคัดแยกเกรดหรือคุณภาพของพืชผลทางการเกษตร ระบบอ่านรหัสไปรษณีย์อัตโนมัติ เพื่อคัดแยกปลายทางของจดหมายที่มีจำนวนมากในแต่ละวันโดยใช้ภาพถ่ายของรหัสไปรษณีย์ที่อยู่บนซอง ระบบเก็บข้อมูลรถที่เข้าและออกอาคารโดยใช้ภาพถ่ายของป้ายทะเบียนรถเพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัย ระบบดูแลและตรวจสอบสภาพการจราจรบนท้องถนนโดยการนับจำนวนรถบนท้องถนนในภาพถ่ายด้วยกล้องวงจรปิดในแต่ละช่วงเวลา ระบบรู้จำใบหน้าเพื่อเฝ้าระวังผู้ก่อการร้ายในอาคารสถานที่สำคัญ ๆ หรือในเขตคนเข้าเมือง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าระบบเหล่านี้จำเป็นต้องมีการประมวลผลภาพจำนวนมาก และเป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ ๆ กันในรูปแบบเดิมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งงานในลักษณะเหล่านี้ หากให้มนุษย์วิเคราะห์เอง มักต้องใช้เวลามากและใช้แรงงานสูง อีกทั้งหากจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพเป็นจำนวนมาก ผู้วิเคราะห์ภาพเองอาจเกิดอาการล้า ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เหล่านี้แทนมนุษย์ อีกทั้ง เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคำนวณและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ในเวลาอันสั้น จึงมีประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลภาพและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากภาพในระบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

การประชุมทางไกลผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรน ใช้เทคนิคการบีบอัดภาพ

การตรวจลายนิ้วมือโดยใช้ ระบบสแกนลายนิ้วมือ

ภาพถ่ายดาวเทียมใช้หลักการของการประมวลผลภาพ

งานทางหุ่นยนต์ ใช้ในการออกแบบหุ่นยนต์กู้ภัยค้นหาผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
นอกจากตัวอย่างระบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว งานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพเราอย่างมาก คือ งานวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ ก็จำเป็นต้องนำศาสตร์ทางด้านการประมวลผลภาพมาประยุกต์ใช้เช่นกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ หรือตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตัวอย่างการนำภาพถ่ายมาทำการวิเคราะห์ ใช้หลักการของการประมวลผลภาพให้ภาพคมชัดมากยิ่งขึ้นในการหาเชื้อแบตทีเรีย
ในปัจจุบัน เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ ซึ่งทำให้แพทย์สามารถตรวจดูอวัยวะสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ภายในร่างกายได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ได้พัฒนาไปไกลมาก เริ่มจากเครื่องเอ็กซเรย์ (X-Ray) ซึ่งสามารถถ่ายภาพโครงสร้างกระดูกและอวัยวะบางอย่างเช่น ปอด ภายในร่างกายได้ ต่อมาได้มีการพัฒนาสร้างเครื่อง CT (Computed Tomography) ซึ่งสามารถจับภาพอวัยวะต่าง ๆ ในแนวระนาบตัดขวางได้ ทำให้เราเห็นข้อมูลภาพได้มากขึ้น

การใช้เครื่อง CT สแกนเพื่อตรวจหาความผิดปกติของมะเร็งเต้านม

อีกทั้งยังมีเครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) ซึ่งใช้ถ่ายภาพส่วนที่เป็นเนื้อเยื้อที่ไม่ใช่กระดูก (soft tissues) ได้ดี ภาพ MRI นี้นอกจากจะให้ข้อมูลทางกายภาพแล้วยังให้ข้อมูลทางเคมีได้อีกด้วย เครื่อง MRI ยังสามารถถ่ายภาพอวัยวะที่ต้องการในระนาบต่าง ๆ ได้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายตำแหน่งของผู้ป่วย

หรือแม้กระทั่ง เทคนิคการถ่ายภาพด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งใช้ตรวจดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์มารดา หรือตรวจดูขนาดของ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี และ ไต เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะเหล่านี้ ในปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยเทคนิคใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพทางการแพทย์เหล่านี้ บวกกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานเครื่องถ่ายภาพเหล่านี้ ทำให้มีการถ่ายภาพทางการแพทย์เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย นั้นหมายความว่า ปัจจุบันมีภาพทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องนำมาประมวลผลเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งอาจจะเกินกำลังที่จะให้บุคลากรทางการแพทย์แต่ละคนมาวิเคราะห์ได้ในแต่ละวัน จึงมีความจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีทางการประมวลผลภาพเข้าช่วย เนื่องจากภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ เหล่านี้ ปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้แล้ว ทำให้สะดวกในการจัดเก็บ รักษา และส่งข้อมูลภาพ และที่สำคัญเรายังสามารถวิเคราะห์ภาพเหล่านี้ได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งในการถ่ายภาพเพื่อตรวจดูการทำงาน หรือตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะหนึ่ง ๆ นั้นในแต่ละครั้งนั้น อาจต้องใช้ภาพจำนวนมากในการเปรียบเทียบวิเคราะห์ เช่น การถ่ายภาพหัวใจด้วยเครื่อง MRI จำเป็นต้องถ่ายภาพตลอดระยะเวลาการเต้นของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจได้ภาพออกมาเป็นจำนวนร้อย ๆ ภาพ เป็นต้น ดังนั้น ในการทำงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับภาพถ่ายจำนวนมากเหล่านี้ จึงทำให้ต้องเสียเวลาและใช้แรงงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างมากเกินจำเป็น อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญเองอาจเกิดอาการล้าได้ หากจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้มีการนำการประมวลผลภาพด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นศาสตร์ใหม่ เรียกว่า การประมวลผลภาพทางการแพทย์ (Medical Image Processing) เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถวิเคราะห์ภาพจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้นด้วย

การประมวลผลภาพทางการแพทย์ เป็นการนำเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ของการประมวลผลภาพ มาใช้กับภาพทางการแพทย์ โดยการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ กับภาพทางการแพทย์นี้ จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์นั้น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพท์ ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ภาพเหล่านั้นได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยเทคนิคของการประมวลผลภาพมีมากมายหลายวิธีการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์มักจะใช้หลาย ๆ วิธีการร่วมกัน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์นั้น ๆ เทคนิคของการประมวลผลภาพที่สำคัญ ๆ ในการจัดการกับภาพทางการแพทย์ มีดังตัวอย่างต่อไปนี้
การแบ่งส่วนภาพ (Image Segmentation) เป็นวิธีการแบ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพที่เราสนใจออกมาจากภาพที่เราต้องการ ซึ่งการแบ่งส่วนภาพนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นขั้นตอนเบื้องต้นและสำคัญอย่างมากของการประมวลผลภาพทางการแพทย์ เนื่องจากภาพทางการแพทย์ที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพแบบต่าง ๆ นั้น โดยปกติมักจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับอวัยวะที่ทำถ่ายภาพมา เช่น เนื้อเยื่อ กระดูก อวัยวะข้างเคียง หรือแม้กระทั่งสัญญาณรบกวน (Noise) ที่ขึ้นในขณะถ่ายภาพ ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์เฉพาะอวัยวะที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้การแบ่งส่วนภาพมาทำหน้าที่ตัดแยกส่วนที่เราต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนเนื้อสมองจากภาพสมอง การแบ่งส่วนภาพหัวใจห้องล่างซ้ายจากภาพหัวใจ MRI การแบ่งส่วนเฉพาะเส้นโลหิต การแบ่งส่วนข้อกระดูกสันหลังจากภาพลำกระดูกสันหลัง หรือ การแบ่งส่วนของทารกจากภาพอัลตราซาวด์ เป็นต้น การแบ่งส่วนภาพทางการแพทย์มีทั้งการแบ่งส่วนภาพแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นอยู่ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการนำไปวิเคราะห์ โดยวิธีการแบ่งส่วนภาพที่กำลังได้รับความนิยมในงานวิจัยเกี่ยวกับภาพทางการแพทย์ ได้แก่ แอ็กทิฟคอนทัวร์ (Active Contour) และ แอ็กทิฟเซอร์เฟส (Active Surface) เป็นต้น
การซ้อนทับภาพ (Image Registration)
เป็นวิธีการนำข้อมูลของสองภาพหรือมากกว่า มารวมกันเพื่อให้เกิดภาพใหม่ที่มีข้อมูลภาพสมบูรณ์มากขึ้น โดยภาพใหม่ที่ได้นี้ จะเป็นการรวมตัวกันของข้อมูลหรือรายละเอียดในแต่ละภาพที่นำมาผสานกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดและข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้งาน หรือการนำภาพไปวิเคราะห์ โดยส่วนใหญ่แล้วภาพที่จะนำมาซ้อนทับกันนั้น อาจเป็นภาพถ่ายของอวัยวะเดียวกัน ที่ถ่ายต่างเวลากัน ต่างมุมมองกัน หรือ ใช้เทคนิคในการถ่ายภาพที่แตกต่างกัน เป็นต้น และการนำวิธีการซ้อนทับภาพมาใช้กับภาพทางการแพทย์ มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น การตรวจ ติดตาม หรือหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ทำได้โดยการนำภาพถ่ายของอวัยวะที่ต้องการตรวจ ที่ได้ถ่ายไว้ในอดีต มาทำการซ้อนทับกับภาพถ่ายของอวัยวะเดียวกันที่ถ่ายไว้ในปัจจุบัน โดยทำให้ตำแหน่งของอวัยวะต่าง ๆ ของทั้งสองภาพตรงกัน ซึ่งการทำในลักษณะนี้ จะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของอวัยวะนั้น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในช่วงเวลานั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นอย่างไรต่อไป มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ มีอวัยวะที่โตขึ้นผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น การนำภาพทางการแพทย์ที่ใช้เทคนิคในการถ่ายภาพแตกต่างกัน มาทำการซ้อนทับภาพ เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของวิธีการนี้ เนื่องจากภาพทางการแพทย์ที่ถ่ายโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพเพียงแบบเดียว อาจจะทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพหลาย ๆ แบบ เพื่อให้ได้ข้อมูล รายละเอียดของอวัยวะ หรือองค์ประกอบรอบข้างอื่น ๆ ของอวัยวะนั้น ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำภาพไปวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น การนำภาพสมองที่ถ่ายด้วยเครื่อง CT ซึ่งมีรายละเอียดที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นกระดูก มาซ้อนทับกับภาพสมองที่ถ่ายด้วยเครื่อง MRI ซึ่งให้รายละเอียดของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในสมองได้ดีกว่าภาพที่ถ่ายด้วยเครื่อง CT และเห็นได้ว่า ภาพใหม่ที่ได้จากการซ้อนทับของข้อมูลจากภาพทั้งสองนี้ จะมีรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น คือ มีทั้งส่วนที่เป็นกะโหลกศีรษะและรายละเอียดของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในสมอง จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพใหม่นี้เพียงภาพเดียวได้ โดยไม่ต้องพิจารณาภาพทั้งสองแยกกัน

การสร้างภาพ 3 มิติ (3D Image Reconstruction)
การวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์โดยใช้ภาพ 3 มิติ กำลังได้รับความต้องการอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากภาพ 3 มิติ สามารถแสดงให้เห็นถึงภาพรวมหรือรายละเอียดในมุมมองต่าง ๆ ของอวัยวะได้ จึงมีประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ โดยอวัยวะหรือส่วนของร่างกายที่ได้มีการวิเคราะห์ในรูปแบบ 3 มิติ ตัวอย่างเช่น สมอง หัวใจ กระดูก ฟัน และขากรรไกร เป็นต้น
ภาพ 3 มิติสำหรับภาพทางการแพทย์นั้น มักสร้างมาจากภาพ 2 มิติหลาย ๆ ภาพ ทำได้โดยการนำภาพเหล่านั้น มาผ่านกระบวนการประมวลผลภาพ เช่น การแบ่งส่วนภาพ เป็นต้น เพื่อให้ได้รายละเอียด ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือข้อมูลที่จำเป็นของอวัยวะที่ต้องการ จากนั้น นำมาประกอบกันเพื่อขึ้นรูปเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งภาพ 3 มิติที่ได้นี้ จะมีลักษณะหรือรูปร่างที่เหมือนกับอวัยวะจริงเพียงใด ขึ้นอยู่กับข้อมูลของภาพ 2 มิติที่นำมาประมวลผล ถ้าภาพ 2 มิติที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพมีภาพจำนวนมากเพียงพอ ถ่ายในทุกส่วนสัดอย่างละเอียด หรือ ได้ถ่ายไว้ในหลายมุมมอง ก็ยิ่งทำให้ภาพ 3 มิติที่ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น

ข้อดีของภาพ 3 มิติ คือ สามารถพิจารณาในลักษณะของปริมาตรหรือขนาดได้ ทำให้สามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะได้ โดยดูจากขนาดที่เห็น หรือดูจากค่าที่คำนวณออกมาเป็นตัวเลข เช่น ปริมาตร หรือค่าความบ่งชี้ต่าง ๆ ทางการแพทย์ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ว่าอวัยวะนั้น ๆ มีขนาดที่ใหญ่หรือเล็กผิดปกติหรือไม่ ตัวอย่างการนำภาพ 3 มิติมาช่วยงานในด้านการวางแผนการรักษา เช่น การวางแผนการฝังรากฟันเทียม ทำได้โดยการจัดการวางแผนกับภาพฟัน 3 มิติในคอมพิวเตอร์ ที่สร้างมาจากภาพฟันและขากรรไกร 2 มิติของผู้ป่วย หรือการวางแผนการจัดฟัน ที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเห็นลักษณะฟันของตนเอง ก่อนและหลังการจัดฟันได้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าจะเข้ารับการรักษาหรือไม่ และ ในด้านการวางแผนการผ่าตัดฝังวัสดุในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนและจัดการฝังวัสดุได้อย่างมีความถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ การประมวลผลภาพทางการแพทย์ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเข้ามาทำหน้าที่หลักแทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่เข้ามาทำหน้าที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกหรือเป็นผู้ช่วยในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ภาพเหล่านั้นได้สะดวกและ รวดเร็วขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในวิเคราะห์ให้ดีขึ้น ปัจจุบันยังมีความจำเป็นและต้องการผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคนิคการประมวลผลภาพทางการแพทย์อีกมาก ทั้งนี้ ผู้ที่พัฒนากระบวนการประมวลผลภาพทางการแพทย์นี้ นอกจากจะต้องรู้วิธีการสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังต้องเข้าใจความสามารถในการวิเคราะห์ภาพของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ อีกด้วย เพื่อจะสามารถผสมผสานศาสตร์ทั้งสองนั้น และนำมาพัฒนาศักยภาพในการประมวลผลภาพได้สูงขึ้น

ตัวอย่างการนำการประมวลผลสัญญาณดิจิตอลไปใช้งานด้านต่างๆ

ข้อดี-ข้อเสียของการประมวลผลดิจิตอล

จากที่ ได้ยกตัวอย่างการใช้งานของ การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล มาทั้งหมดนั้น ก็คงพอจะทำให้ได้ทราบถึง แนวทางการประยุกต์ใช้งาน การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ในงานด้านต่างๆ เช่น ทางการทหาร การแพทย์ บันเทิง หรือ การสื่อสารโทรคมนาคม และ อื่นๆ ความนิยมในการใช้ การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ที่เพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจากการ ข้อได้เปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างวงจรด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ทฤษฎีการประมวลผลสัญญาณดิจิตอลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยตัวของมันเอง มิใช่เพื่อเป็นการประมาณค่าการประมวลผลสัญญาณทางอนาลอก และนี่เป็นสิ่งที่ทำให้การประยุกต์ใช้งาน การประมวลผลสามารถทำได้ในรูปแบบที่หลากหลายและ มีประสิทธิภาพการประมวลผลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

โพสท์ใน เทคโนโลยี | ใส่ความเห็น

จีพีอาร์เอส

จีพีอาร์เอส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The five-layer TCP/IP model
5. Application layer
DHCP • DNS • FTP • Gopher • HTTP • IMAP4 • IRC • NNTP • XMPP • MIME • POP3 • SIP • SMTP • SNMP • SSH • TELNET • RPC • RIP • RTP • RTCP • TLS/SSL • SDP • SOAP • …
4. Transport layer
TCP • UDP • DCCP • SCTP • GTP • …
3. Internet layer
IP (IPv4 • IPv6) • IGMP • ICMP • RSVP • BGP • OSPF • ISIS • IPsec • ARP • RARP • …
2. Data link layer
802.11 • ATM • DTM • Ethernet • FDDI • Frame Relay • GPRS • EVDO • HSPA • HDLC • PPP • L2TP • PPTP • …
1. Physical layer
Ethernet physical layer • ISDN • Modems • PLC • SONET/SDH • G.709 • WiMAX • …
จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข
จีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล
ในทางทฤษฎีแล้ว ความเร็วสูงสุดของ GPRS อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที
อ้างอิง[แก้]

Introduction of high-speed data in GSM/GPRS networks
[ซ่อน] ด พ ก
ยุคระบบไร้สาย
1G
NMT · AMPS · Hicap · CDPD · Mobitex · DataTAC · TACS · ETACS
2G
GSM · iDEN · D-AMPS · IS-95 · PDC · CSD · PHS · GPRS · HSCSD · WiDEN
2.75G
EDGE/EGPRS · CDMA2000 (1xRTT)
3G
UMTS (W-CDMA) · CDMA2000 (1xEV-DO/IS-856) · FOMA · TD-SCDMA · GAN/UMA
3.5G
UMTS (HSDPA) · UMTS (HSUPA) · CDMA2000 (EV-DO Rev.A)
3.75G
UMTS (HSPA+) · CDMA2000 (EV-DO Rev.B/3xRTT)
4G
WiMAX · Flash-OFDM · 3GPP LTE
5G
อยู่ในช่วงของการวิจัย
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA

โพสท์ใน เทคโนโลยี | ใส่ความเห็น

บรอดแบนด์ไร้สาย

บรอดแบนด์ไร้สาย (อังกฤษ: Wireless Broadband) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงหรือการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในพื้นที่กว้าง
เนื้อหา [ซ่อน]
1 นิยามของบรอดแบนด์
2 เทคโนโลยีและความเร็ว
3 การพัฒนาบรอดแบนด์ไร้สายในสหรัฐอเมริกา
4 อินเทอร์เน็ตไร้สายสำหรับที่อยู่อาศัย
5 ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไร้สาย
6 ความต้องการสำหรับสเปกตรัม
7 มือถือไร้สายความเร็วสูง
8 การออกใบอนุญาต
9 ดูเพิ่ม
10 อ้างอิง
นิยามของบรอดแบนด์[แก้]

บรอดแบนด์กลายเป็นวลีทางการตลาดที่นิยมกันมากสำหรับบริษัทโทรศัพท์และเคเบิลทีวีที่จะขายผลิตภัณฑ์รับส่งข้อมูลอัตราควาเร็วสูงในราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ ปี 2009 ของสหรัฐอเมริกา มันถูกกำหนดให้เป็น “การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาและเร็วกว่าการเข้าถึงทั่วไปแบบ Dial-Up”. หน่วยงานเดียวกันได้กำหนดนิยามนี้แตกต่างกันไปตลอดทั้งปี.

ตัวอย่างเครือข่ายไร้สาย ผู้ใช้จะติดต่อผ่าน access point หรือ remote router เข้าไปที่ WISP เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
ตามมาตรฐาน 802.16-2004 บรอดแบนด์หมายถึง “ที่มีแบนด์วิดท์ที่เร็วมากกว่า 1 MHz และสนับสนุนอัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่า 1.5 Mbit/s.โดยประมาณ”
นิยามของ broadband โดย สวทช [1] คือ
“เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่สามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากผ่านสื่อใช้สาย เช่น เคเบิลใยแก้วนำแสง สายเคเบิลทีวี สายโทรศัพท์ (DSL) หรือสื่อไร้สายเช่น 3G, 4G/LTE และ WiMAX โดยความเร็วของการรับส่งข้อมูลตามที่กรอบนโยบาย ICT 2020 กำหนดนั้นจะอยู่ที่ 768 กิโลบิตต่อวินาทีซึ่งเป็นความเร็วขั้นต่ำ ไปจนถึง 100 ล้านบิตต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งเป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก หรือ Ultra Broadbandอนึ่ง กรอบนโยบาย ICT 2020 นี้อ้างอิง ชั้นความเร็วของการรับส่งข้อมูล (Broadband Speed Tiers) ตามที่ Feral Communications Commission แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 กลุ่ม (Tiers) ได้แก่
1st Generation Data – 200 kbps to 768 kbps
Basic Broadband Tiers 1 – 768 kbps to 1.5 Mbps
Broadband Tiers 2 – 1.5 Mbps to 3 Mbps
Broadband Tiers 3 – 3 Mbps to 6 Mbps
Broadband Tiers 4 – 6 Mbps to 10 Mbps
Broadband Tiers 5 – 10 Mbps to 25 Mbps
Broadband Tiers 6 – 25 Mbps to 3 Mbps
Broadband Tiers 7 – Greater to 100 Mbps
[เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ]”
เทคโนโลยีและความเร็ว[แก้]

รูปแสดง Remote Router ซึ่งเป็นตัวกลางการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ทไร้สาย (WISP)
เครือข่ายไร้สายอาจมีอัตราความเร็วประมาณเทียบเท่ากับบางเครือข่ายใช้สาย เช่นเครือข่ายที่ใช้ asymmetric digital subscriber line (ADSL) หรือเคเบิลโมเด็ม เครือข่ายไร้สายยังสามารถเป็นแบบสมมาตร หมายถึงอัตราเดียวกันทั้งสองทิศทาง (ดาวน์โหลดและอัปโหลด) ซึ่งมีความสัมพันธ์มากที่สุดกับเครือข่ายไร้สายอยู่กับที่ เครือข่ายไร้สายอยู่กับที่เป็นการเชื่อมต่อไร้สายที่ผู้ใช้ไม่เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถรองรับอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นด้วยการใช้พลังงานเท่ากันกับระบบโทรศัพท์มือถือหรือดาวเทียม
มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WISPs) ไม่มากที่ให้ความเร็วในการดาวน์โหลดกว่า 100 Mbit/s;. บริการการเข้าถึงบรอดแบนด์ไร้สาย (Broadband Wireless Access, BWA) ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ในระยะ 50 กิโลเมตร (31 ไมล์) จากเสาส่ง เทคโนโลยีที่ใช้รวม LMDS และ MMDS เช่นเดียวกับการใช้งานหนักของแถบ ISM และเทคโนโลยีการเข้าถึงโดยเฉพาะเป็นมาตรฐาน IEEE 802.16 โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า WiMAX.
WiMAX เป็นที่นิยมอย่างมากในทวีปยุโรป แต่ยังไม่พบการยอมรับอย่างเต็มที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพราะค่าใช้จ่ายของการติดตั้งไม่ได้ตามตัวเลขผลตอบแทนการลงทุน ในปี 2005 Federal Communications Commission จัดทำรายงานและระเบียบที่ปรับปรุงกฎของเอฟซีซีที่จะเปิดช่วง 3650 เมกะเฮิรตสำหรับการดำเนินงานบรอดแบนด์ไร้สายทั่วโลก.
การพัฒนาบรอดแบนด์ไร้สายในสหรัฐอเมริกา[แก้]

เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 สำนักงานคณะกรรมการกำกับได้ประกาศ Public Notice DA 07-4605 ให้สำนักกิจการโทรคมนาคมไร้สายประกาศวันเริ่มต้นของกระบวนการออกใบอนุญาตและการลงทะเบียนสำหรับแถบความถี่ 3650-3700 เมกะเฮิรตซ์. ในปี 2010 FCC จัดทำ TV White Space Rules (TVWS) และอนุญาตให้บางส่วนของความถี่ none line of sight (700 MHz) ลงในกฎ FCC Part-15. สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งเป็นสมาคมแห่งชาติของ WISPs ร้องเรียน FCC และชนะ
ในขั้นต้น WISPs ถูกพบเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่สายเคเบิลหรือ DSL ไปไม่ถึง WISPs จะใช้ T-carrier ความจุสูงเช่น T1 หรือการเชื่อมต่อ DS3 แล้วถ่ายทอดสัญญาณจากที่สูง, เช่นจากด้านบนของหอเก็บน้ำ ในการรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนี้แบบนี้ ผู้บริโภคจะติดจานขนาดเล็กบนหลังคาบ้านหรือสำนักงานและหันจานไปยังเครื่องส่งสัญญาณ line of sight จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานใน WISPs ในช่วง 2.4 และ 5 กิกะเฮิรตกับ 900 MHz ที่ให้ประสิทธิภาพ NLOS (non-line-of-sight) ดีขึ้น
อินเทอร์เน็ตไร้สายสำหรับที่อยู่อาศัย[แก้]

ผู้ให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายอยู่กับที่มักจะจัดหาอุปกรณ์ให้กับลูกค้าและติดตั้งเสาอากาศขนาดเล็กหรือจานที่ไหนสักแห่งบนหลังคา อุปกรณ์นี้จะถูกติดตั้งและดูแลรักษาโดยบริษัทผู้ให้บริการ บริการไร้สายอยู่กับที่ได้กลายเป็นที่นิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทจำนวนมากที่เคเบิล, DSL หรือบริการอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ โดยทั่วไปไม่สามารถให้บริการได้
ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไร้สาย[แก้]

หลาย บริษัท ในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกได้เริ่มใช้ทางเลือกไร้สายเพื่อเป็นผู้ให้บริการท้องถิ่นสำหรับอินเทอร์เน็ตและบริการเสียง ผู้ให้บริการเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะนำเสนอบริการที่สามารถแข่งขันและเป็นตัวเลือกในพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการได้รับการเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตที่เหมาะสมจากผู้ให้บริการภาคพื้นดินเช่น ATT, Comcast, Verizon และอื่น ๆ นอกจากนี้บริษัทที่กำลังมองหาความหลากหลายเต็มรูปแบบของสื่อกลางสำหรับความต้องการ uptime ที่สำคัญอาจจะแสวงหาทางเลือกไร้สายให้เป็นตัวเลือกของท้องถิ่นนั้น
ความต้องการสำหรับสเปกตรัม[แก้]

บทความหลัก: การจัดสรรคลื่นความถี่
เพื่อรับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับบรอดแบนด์ไร้สาย คลื่นความถี่จะต้องเพิ่มขึ้นด้วย การศึกษาเริ่มต้นขึ้นในปี 2009 และในขณะที่บางคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ก็ถูกนำมาใช้ ปรากฏว่าผู้กระจายเสียงจะต้องยกเลิกอย่างน้อยบางสเปกตรัม สิ่งนี้นำไปสู่​​การคัดค้านอย่างรุนแรงจากชุมชนผู้กระจายเสียง ในปี 2013 การประมูลมีการวางแผนและสำหรับตอนนี้การดำเนินการใดๆโดยผู้กระจายเสียงแล้วแต่ความสมัครใจ
มือถือไร้สายความเร็วสูง[แก้]

หรือที่เรียกว่ามือถือบรอดแบนด์ เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายรวมถึงการให้บริการจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเช่น Verizon Wireless, Sprint คอร์ปอเรชั่นและ AT & T Mobility ซึ่งอนุญาตให้หลายรุ่นมือถือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ผู้บริโภคสามารถซื้อพีซีการ์ด, การ์ดแล็ปท็อปหรืออุปกรณ์ USB เพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทางเสาสถานีมือถือได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีเสถียรภาพในเกือบทุกพื้นที่ที่สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์ที่แรงพอได้แต่ก็เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเพื่อความสะดวกแบบพกพารวมทั้งมีข้อจำกัดความเร็วในทุกสภาพแวดล้อม แม้แต่ในเมืองบริเวณที่มีการจราจรสูง
วันที่ 2 มิถุนายน 2010, หลังจากหลายเดือนของการสนทนา, AT & T กลายเป็นผู้ให้บริการไร้สายอินเทอร์เน็ตรายแรกในสหรัฐที่จะประกาศแผนการที่จะเรียกเก็บตามการใช้งาน เมื่อเป็นบริการ iPhone เฉพาะในสหรัฐ, AT & T ประสบปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตที่มากกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ประมาณร้อยละ 3 ของลูกค้าสมาร์ทโฟนใช้อินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 40 ของการใช้เทคโนโลยี ร้อยละ 98 ของลูกค้าใช้น้อยกว่า 2 จิกะไบต์ (4,000 เพจวิว, 10,000 อีเมล์หรือ 200 นาทีของการสตรีมมิ่งวิดีโอ), ซึ่งเป็นขีดจำกัดภายใต้แผนรายเดือน $ 25, และการใช้ร้อยละ 65 น้อยกว่า 200 เมกะไบต์ ขีดจำกัดสำหรับแผน $ 15 สำหรับจิกะไบต์ในส่วนที่เกินขีด จำกัด ของแต่ละลูกค้าจะถูกเรียกเก็บ $ 10 ต่อเดือนเริ่มต้น 7 มิถุนายน 2010 แต่ลูกค้าที่มีอยู่จะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนจาก $ 30 แผนบริการต่อเดือนไม่จำกัด แผนใหม่ที่จะกลายเป็นความต้องการสำหรับผู้ที่อัพเกรดเป็น iPhone เทคโนโลยีใหม่ต่อไปในฤดูร้อน. [7]
การออกใบอนุญาต[แก้]

เชื่อมต่อไร้สายสามารถเป็นได้ทั้งที่มีใบอนุญาตและไม่มีใบอนุญาต ในสหรัฐอเมริกามีการเชื่อมต่อที่ได้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ที่เป็นส่วนตัวของผู้ใช้มีหลักประกันสิทธิจาก Federal Communications Commission (FCC) ในประเทศอื่น ๆ สเปกตรัมได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานผู้มีอำนาจสื่อสารทางวิทยุของชาติ (เช่น ACMA ในออสเตรเลียหรือคณะกรรมการการสื่อสารในไนจีเรีย (NCC)) ใบอนุญาตมักจะมีราคาแพงและมักจะสงวนไว้สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความประสงค์ที่จะรับประกันการเข้าถึงส่วนตัวที่คลื่นความถี่ที่ใช้ในการสื่อสารแบบ point to point ด้วยเหตุนี้การใช้คลื่นความถี่ไร้สายของ ISP ส่วนใหญ่จะไม่มีใบอนุญาตเพราะใช้ความถี่สาธารณะ
ดูเพิ่ม[แก้]
ที่มาhttps://sensiri2220.wordpress.com/wp-admin/post-new.php?post_type=post

Clearwire
CorDECT
HIPERMAN
Skyriver, provider in California
WiBro, provider in South Korea
iBurst
802.20
Connect card
Policies promoting wireless broadband
อ้างอิง[แก้]

Jump up ↑ [1], คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
Wireless broadband
หมวดหมู่: เทคโนโลยีดิจิทัลบรอดแบนด์เครือข่ายไร้สายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

โพสท์ใน เทคโนโลยี | ใส่ความเห็น

RFID (อาร์เอฟไอดี) คืออะไร

RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็น ระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาน ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

RFID ใน ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมลูของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไหร่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียน ข้อมูล

RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดดังนี้

* มี ความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit – ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
* ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
* สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
* สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Non-Line of Singht)
* ค่า เฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
* สามารถ เขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท
* สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
* ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
* ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
* ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก

ลักษณะการทำงานของระบบ RFID

หัวใจ ของเทคโนโลยี RFID ได้แก่ “Inlay” ที่บรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้สำหรับการติดตาม หรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศนั่นเอง Inlay มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 0.375 มิลลิเมตร สามารถทำเป็นแผ่นบางอัดเป็นชั้น ๆ ระหว่างกระดาษ, แผ่นฟิล์ม หรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเป็นการผลิตเครื่องหมายหรือฉลาก จึงทำให้ง่ายต่อการติดเป็นป้ายชื่อหรือฉลากของชิ้นงานหรือวัตถุนั้น ๆ ได้สะดวก
ที่มาhttp://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=13
องค์ ประกอบในระบบ RFID จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนแรกคือฉลากหรือป้ายขนาดเล็กที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุที่เราสนใจ โดยฉลากนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นๆ เอาไว้ ฉลากดังล่าวมีชื่อเรียกว่า ทรานสพอนเดอร์ (Transponder, Transmitter & Responder) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า”แท็กส์”(Tag)ส่วนที่สองคืออุปกรณ์สำหรับอ่าน หรือเขียนข้อมูลภายในแท็กส์ มีชื่อเรียกว่า ทรานสซิ ฟเวอร์ (Transceiver,Transmitter & Receiver) หรือที่เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เครื่องอ่าน” (Reder)

ทั้งสองส่วนจะสื่อสารกันโดยอาศัยช่องความถี่วิทยุ สํญญาณนี้ผ่านได้ทั้งโลหะและอโลหะแต่ไม่สามารถติดต่อกับเครื่องอ่านให้อ่าน ได้โดยตรง เมื่อเครื่องอ่านส่งข้อมูลผ่าน่ความถี่วิทยุ แสดงถึงความต้องการข้อมูลที่ถูกระบุไว้จากป้าย ป้ายจะตอบข้อมูลกลบและเครื่องอ่านจะส่งข้อมูลต่อไปยังส่วนประมวลผลหลักของ คอมพิวเตอร์ โดยเครื่องอ่านจะติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสายเครือข่าย LAN (Local Area Network) หรือส่งผ่านทางความถี่วิทยุจากทั้งอุปกรณ์มีสายและอุปกรณ์ไร้สาย

ปัจจุบัน มีการนำ RFID มาใช้งานกันในงานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเอทีเอ็ม บัตรสำหรับผ่านเข้าออกหัองพัก บัตรโดยสารของสายการบิน บัตรจอดรถ ในฉลากของสินค้าหรือแม้แต่ใช้ฝังลงในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ เป็นต้น การนำ RFID มาใช้งานก็เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการผ่านเข้าออกบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือเพื่ออ่านหรือเก็บข้อมูลบางอย่างเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่เป็นฉลากสินค้า RFID ก็จะถูกนำมาใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เพื่อให้สามารถทราบถึงที่มาที่ไปของสินค้าชิ้นนั้นๆ ได้ เป็นต้น สำหรับรูปแบบของเทคโนโลยี RFID ที่ใช้ในการดังกล่าวก็มีทั้งแบบสมาร์ทการ์ดที่สามารถถูกเขียนหรืออ่านข้อมูล ออกมาได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสกับเครื่องอ่านบัตรหรือคอนแทคเลสสมาร์ทการ์ด (Contact Less Smart card), เหรียญ, ป้ายชื่อหรือฉลากซึ่งมีขนาดเล็กมากจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษ หรือฝังเอาไว้ในตัวสัตว์ได้เลยที่เดียว

การ พัฒนาระบบ RFID มิได้มีจุดประสงค์เพื่อมาแทนที่ระบบอื่นที่มีการพัฒนามาก่อนหน้า เช่น ระบบบาร์โค้ด แต่เป็นการเสริมจุดอ่อนต่างๆ ของระบบอื่นในประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี RFID ในหลากหลายด้านทั้งใช้ในด้านการขนส่ง (บัตรทางด่วน บัตรโดยสารรถไฟฟ้า) ด้านการปศุสัตว์ (การให้อาหาร การติดตามโรค) ใช้กับเอกสารราชการ (บัตรพนักงาน บัตรจอดรถ) และการใช้ RFID เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้าน Logistics โดยใช้ผนึกอิเล็กทรอนิกส์ติด RFID ปิดล็อคตู้คอนแทนเนอร์เพื่อสะดวกในการติดตาม บริหารจัดการขนส่ง ด้านการแพทย์ (บันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วย) หรือแม้แต่ในงานของห้องสมุด

คลื่นวิทยุ (Radio Frequency)

คลื่น วิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งเหมือนกับพวก แสง คลื่นอัลตราไวโอเล็ต และคลื่นอินฟราเรด เพียงแต่ต่างย่านความถี่เท่านั้น คลื่นวิทยุที่แผ่กระจายออกจากสายอากาศนั้นประกอบไปด้วยสนามแม่เหล็กและสนาม ไฟฟ้า ความถี่ของคลื่นวิทยุที่เราพูดกัน จะหมายถึงความถี่ของคลื่นพาหะหรือ Carrier Frequency ความถี่ในระบบ RFID ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่

* LF 125 KHz ( Low Frequency )
* HF 13.56 MHz (High Frequency )
* UHF 869.5 MHz ( Ultra-high Frequency)

LF 125 KHz เป็นความถี่มาตรฐานที่ใช้งานทั่วไป ระยะการรรับส่งข้อมูลใกล้ ต้นทุนไม่สูงมาก ความเร็วในการอ่านต่ำ LF มักพบการใช้งานหน่วยงานของปศุสัตว์ , ระบบควบคุมการเปิดปิดประตู

HF 13.56 MHz (ใช้เฉพาะในยุโรป)

“B-9704-1-QP” เป็นออฟชั่นของเครื่องพิมพ์ในการถอดรหัส(Encode)ชิป ที่ใช้ในย่านความถี่ HF 13.56 ในปัจจุบันรองรับชิป C210 ,C220 , C240, C270(I-code) และ tag มาตรฐาน ISO 15693 รวมถึง tag มาตรฐาน ISO 18000 type 3 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในย่านความถี่นี้เป็นย่านความถี่ใช้กันทั่วโลก RFID ในย่านความถี่ HF ใช้กับ passive tag และ มักพบเห็นการใช้งาน RFID ในย่านความถี่ HF ในห้องสมุด และการป้องกันการปลอมแปลงสินค้า

UHF 869.5 MHz
“B-9704-U1-QP” เป็นออฟชั่นของเครื่องพิมพ์ในการถอดรหัส(Encode)ชิป ที่ใช้ในย่านความถี่ UHF 869.5 MHz ในปัจจุบันรองรับชิป EPC Class0, Class1 และ ISO-1800-6-B EPC Class 0+ และ GEN2 ซึ่งจะหาได้ง่ายในอนาคต คลื่นความถี่ที่อยู่ในช่องความถี่ UHF ที่สามารถใช้กับระบบ RFID จะอยู่ระหว่าง 860 – 960 MHz ระบบ UHF RFID ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่คลื่นความที่ 915 MHz และ ระบบ UHF RFID ที่ใช้ในยุโรปจะอยู่ที่คลื่นความถี่ 868 MHz
การใช้งาน UHF RFID ขยายวงกว้างขึ้นจากองค์กรขนาดใหญ่ , ธุรกิจระหว่างประเทศ ไปยังธุรกิจขนาดเล็กในหลายๆ สายงาน

โพสท์ใน เทคโนโลยี | ใส่ความเห็น